
History
J. S. Bach: Cello Suite No.2
-
Prelude
-
Allemande
-
Sarabande
-
Gigue
โยฮันน์ เซบาสเตียนบาค เป็นนักเเต่งชาวเยอรมัน อยู่ในยุคบาโรคและยังเป็นนักดนตรีซึ่งทำงานที่คริสตจักรโปรเตสแตนต์ในอาร์นชตัดท์ผู้คนจะรู้จักในฐานะนักออร์แกนและเเต่งเพลงเกี่ยวกับศาสนาอีกด้วย เชลโลสวีต บาคได้ถูกประพันธ์ในช่วงระหว่าง 1717-23 สำหรับเชลโลโซโลโดยเฉพาะ ซึ่งสวีตทุกท่อนของบทเพลงจะแสดงให้เห็นและสื่อถึงการเต้นรำที่ต้นกำเนิดมาจากเยอรมัน ในส่วนของอารมณ์ของตัวบทเพลงอยู่ในความโศกเศร้า เชลโลสวีตนั้นไม่ค่อยได้นำกลับมาเเสดงและยังไม่เป็นที่รู้จักมากนัก จนมาถึงในยุคต้นศตวรรษที่20 ปาโบลซาลส์ ได้ทำการแสดงและบันทึกเสียงไว้
เชลโลสวีตได้รับพิจารณาว่าเป็นผลงานดนตรีคลาสสิกที่ลึกซึ้งที่สุด
วิลฟริด เมลเลอรส์ ได้อธิบายเมื่อปี 1980 ว่าเชลโลสวีตเป็น“เพลงโมโนโพนิค ที่สรา้งการเต้นรำของพระเจ้า”
เชลโลสวีตจะมีทั้งหมดอยู่ 6 บทเพลง ในเเต่ละบทเพลงนั้นจะมี 6 ท่อนด้วยกันคือ
1.Prelude
มักจะอยู่ในอัตราจังหวะ 4/4 หรือ common time และบางท่อนจะอยู่ในอัตราจังหวะ ¾ พรีลูดมักจะเป็นท่อนเปิดเพลงของทุกๆบทเพลง เป็นการนำเสนอของบทเพลงไม่ว่าจะว่าด้วยคีย์เพื่อสามารถพัฒนาจากธีมท่อนเปิดนี่เเหละเอามาต่อยอดในเป็นบทเพลงในเเต่ละท่อน ซึ่งผู้เล่นสามารถยืดจังหวะได้เล็กน้อยโดยที่ไม่ต้องในตรงจังหวะทุกๆตัวแต่ไม่ถึงกับยืดจนรู้สึกว่าเปลี่ยนจังหวะ
2.Allemande
อัลเลนแมนคือ การเต้นรำ สไตล์การเต้นรำที่เป็นที่นิยมมากสำหรับดนตรีบาโรก ที่อยู่ในยุคเรอเนซองส์และบาโรค โดยการเต้นรำที่เก่าแก่มากซึ่งเชื่อว่ามาจากเยอรมัน ซึ่งเรียกว่าการเต้นรำแบบคู่ (duple metre) ที่มีลักษณะเรียกว่า"double-knocking” อัพบีทจังหวะยกของเขบ็ต2ชั้น อัลเลนเมนนี้จะอยู่ในอัตราจังหวะ Cหรือ commontime ในทุกบทเพลง ท่อนนี้จะไม่เร็วเเละไม่ช้าจนเกินไป
3.Courante
แต่เดิม Courante มาจากภาษาฝรั่งเศส หมายถึง "วิ่ง" คอร์แรนโตคือ การเต้นรำในรูปแบบที่เร็ว และในรูปแบบของการใช้จังหวะของคอร์เเรนโตจะเเตกต่างกันไปคือ courante ฝรั่งเสศจะใช้ 3/2 บางครั้งอาจจะใช้ 6/4 ซึ่งเราจะเห็นในเชลโลสวีตของบาคซึ่งอยู่ในบทเพลงลำดับที่5 ในส่วนของอิตลีนั้น correnteจะอยู่จังหวะ3/4
4.Sarabande
แต่เดิมมาจากภาษาสเปนคือ Zarabanda ซึ่งหมายถึงการเต้นรำ เป็นที่นิยมมากสำหรับสเปน รูปแบบของดนตรีนั้น อัตราจังหวะ3/4หรือบางครั้งอาจจะอยู่ใน3/2 ซึ่งรูปแบบการเล่นหรือการเต้นรำอย่างสง่างามและความเร็วนั้นจะค่อนข้างช้า sarabande เป็นหนึ่งในของการเต้นรำที่มักจะจับคู่กับgigue
5.Minuet,Bourrées,Gavotte
Minuetto เป็นฝรั่งเศสซึ่งมีความหมายว่า “ก้าวเล็ก” และในภาษาละติน เรียกว่า munutus แปลว่า “เล็กๆ” การเต้นจะเอาโดยการเอาเท้าเดินสั้นๆ จะเต้นรำในอัตราจังหวะ ¾ ในส่วน bourree นั้นมาจากการเต้นรำแบบฝรั่งเศส ในจังหวะ 4/4 หรือc common time และGavotte คือการเต้นรำแบบฝรั่งเศสซึ่งมาจากการเต้นรำพื้นบ้านของ Gavot อยู่ในตะวันออกเฉียงใต้ในฝรั่งเศส การเต้นที่อยู่ในจังหวะ 2/2,4/4 หรือ c cut time ชื่อทั้ง3อันมีความเเตกต่างกันอยู่ที่จังหวะและการเต้นหรือโน๊ตตัววิ่ง minuet อยู่ใน ¾ และจะเน้นจังหวะเเรกโดยไม่มีอัพบีท bourree อยู่ในจัง 4/4 จะเริ่มที่อัพบีทจังหวะที่4อย่างเต็มค่าโน๊ต และเชื่อมโยงไปถึงจังหวะเเรกของห้องทัดไปแต่จะเล่นสั้น และGavotte อยู่ในจังหวะ4/4,2/2หรือc cut เริ่มด้วยจังหวะครึ่งห้องเช่น 4/4 จะใช้โน๊ตดำจังหวะที่ 3-4 ในอัตรา 2/2 นั้นใช้โน๊ตตัวดำเเต่จะนับเป็นอัพบีท ซึ่งทั้ง3อันจะอยู๋ระหว่าง ก่อน gigueและหลังsarabande
6.Giugue
Gigue หมายถึงการเต้นรำของพื้นบ้านที่มีชีวิตชีวาซึ่งค่อนข้างเร็วและยังสามารถเต้นรำกับบัลเลย์ได้ด้วย gigue เป็นการเต้นรำที่มาจาก Irish jig นำเข้าในประเทศฝรั่งเศสช่วงศตวรรษที่ 17 gigue จะอยู่ในอัตราจังหวะ ⅜,6/8,9/8,12/8
C. Saint-Saën: Cello Concerto in a minor op. 33
-
Allegro non troppo
-
Allegretto con moto
-
Tempo primo
แซ็ง-ซ็องส์ เกิดในกรุงปารีสเมื่อปี 1835 ซึ่งเป็นคนที่มีอัจฉริยะความสามารถทางดนตรีที่พิเศษที่สุดในประวัติศาสตร์ของดนตรีตะวันตก เขาเป็นนักเปียโนและนักออร์แกนิกที่มีพรสวรรค์มากๆและเขาได้เปิดตัวคอนเสิร์ตครั้งเเรกของเขาตอนอายุอายุส10ขวบ ซึ่งเป็นบทเพลงเปียโน 32 ของเบโธเฟน
สำหรับเชลโลคอนแชร์โต หมายเลข 1 ได้ประพันธ์ไว้เมื่อปี 1872 ตอนอายุ37ปี ซึ่งสำหรับบทเพลงนี้แซ็ง-ซ็องส์ ได้รับการยกย่องอย่างสูงในวงการดนตรีฝรั่งเศส แต่ยังไม่ได้เขียนผลงานที่ดีและยอดเยี่ยมที่เขาโด่งดังที่สุด สำหรับ เชลโลคอนเเชร์โต ได้ถูกแสดงครั้งแรกเมื่อวันที่ 19 มกราคม1873 ที่โรงเรียนสอนดนตรีปารีส โดยนักเชลโลจากฝรั่งเศสที่มีชื่อเสียงคือ ออกัสท์ โทลเบกก์ (Auguste Tolbecque) และหลังจากนั้นในปี 1905 เล่นเพื่อเปิดตัวครั้งแรกในลอนดอน เเสดงโดยมีนักเล่นเชลโลที่มีชื่อเสียงอย่างมาก นั่นคือ ปาโบล คาซาลส์(Pablo Casals)
เอกลักษณ์ที่โดดเด่นสำหรับเชลโลคอนเเชร์โตนี้คือทั้ง3ท่อนนี้ จะไม่เเยกออกจากกันแต่จะเล่นอย่างต่อเนื่องโดยไม่มีการหยุดระหว่างเปลี่ยนท่อนของบทเพลง บทเพลงนี้อยู่ในคีย์ไมเนอร์ ท่อนเเรกจะเร็วจะไม่มีการ Introdution โซโลจะเล่นเป็น 2 พยางค์ ส่วนstingนั้นจะเล่นเป็น 4พยางค์ ท่อนที่2นั้น รู้สึกเหมือจะช้าลง แต่ความเร็วของจังหวะนั้นเหมือนท่อนเเรกและจะเปลี่ยน4/4เป็น ¾ และท่อนสุดท้ายกลับมาของท่อนเเรกมาผสมกับท่อน2มารวมกัน จบท้ายด้วยจากคีย์ไมเนอร์เปลี่ยนเป็นคีย์เมเจอร์
ผลงานที่สำคัญ
-cello concerto No.1
-cello concerto No.2
-piano Concerto No.2 , No.5
-violin concerto no.3
E. Elgar: Cello Concerto in e minor op. 85
-
Adagio - Moderato
เอลก้า เป็นนักประพันธ์เพลงชาวอังกฤษ บทเพลงนี้ได้ประพันธ์เมื่อ ค.ศ.1919 ซึ่งอยู่ในช่วงหลังสงครามโลกครั้งที่1 บทเพลงนี้ถูกนำเเสดงครั้งเเรกใน Queen’sHall London เมื่อวันที่ 27 ตลา พ.ศ.1919-20 โดยนักเชลโล Felix Salmond โดยการเเสงคอนเสิร์ตครั้งเเรกนั้นๆไม่ประทับใจและยังถูกต่อต้านในสมัยนั้น
หลังจากนั้นได้รู้จักกับ Beatrice Harrison นักเชลโลและแสดงคอนแชร์โต้กับเอลก้าที่หอประชุมควีนและความนิยมของคอนแชร์โต้ก็เริ่มเติบโตอย่างช้าๆในอังกฤษ เอลก้าและเบียทริซแฮริสันได้ทำการบันทึกเสียงด้วยกัน
Jacqueline du Pre (1945-1987)
ได้เเสดงที่นิวยอกเมื่อวันที่ 14 พฤษาภาคม 1965 เล่นกับวง BBC Symphony Orchestra ซึ่งคอนดักโดย Antal Dorati หลังจากเเสดงเสร็จวันต่อมานักวิจาร์ณว่า
"เธอเล่นเหมือนนางฟ้าคนหนึ่งที่มีความอบอุ่นเป็นพิเศษและมีความรู้สึกไว ... Miss du Pre และคอนแชร์โต้ก็ดูเหมือนจะทำให้กันและกัน ... การเล่นของเธอตื้นตันใจอย่างมาก น้ำเสียงของเธอมีขนาดใหญ่และสวยงามมากเทคนิคของเธอไร้ที่ติอย่างแท้จริง " (อ้างจาก The Great Cellists โดย Margaret Campbell) กลายเป็นผู้ขายที่ดีที่สุดแบบคลาสสิก
ในบทเพลงนี้สะท้อนถึงความเจ็บปวดภายในและภายนอก ให้ผู้ฟังเข้าถึงอารมณ์ของความเจ็บปวด เอลก้าพิถีพิถันในงานชิ้นเป็นอย่างมาก โครงสร้างของท่อนเเรกนั้น การเปิดตัวของบทเพลงเริ่มจากเชลโลกับคาริเน็ตอย่างหลง ก่อนที่จะเข้าสู่ธีมหลักคือ string จะเล่นทำนองหลักหรือธีม